วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

Bureaucracy ระบบราชการ


ทฤษฎีการจัดองค์การขนาดใหญ่ (Bureaucracy)
ในระหว่าง ค.ศ.1864 -1920 แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีองค์การที่สำคัญ โดยเฉพาะแนวความคิดในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานขององค์การขนาดใหญ่ (Bureaucracy) ถือว่าเป็นรูปแบบขององค์การในอุดมคติ (The Ideal form of Organization) ทฤษฎีนี้มีชื่อเสียงมากที่สุดในช่วงทศวรรษ 1800s ส่วนพัฒนาการที่สำคัญของทฤษฎีเกิดขึ้นจากปัญหาขององค์การ ที่ฝ่ายบริหารมักจะชื่นชอบการนำ “ระบบพรรคพวก หรือระบบอุปถัมภ์ (Favoritism)” เข้าไปใช้ในการบริหารงานขององค์การที่ยาวนาน และปัญหาการบริหารงาน “ระบบอัตวิสัย (Subjectivity) ที่เข้าไปครอบงำความเป็นวัตถุนิสัย (Objectivity) ขององค์การ การเติบโตของระบบดังกล่าวต่อเนื่องกันมาถึง “สมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)” และปรากฏชัดเจนว่า การใช้ระบบอุปถัมภ์ในการบริหารงาน นำไปสู่ความไร้ประสิทธิภาพในการทำงาน (Inefficiency) เวเบอร์ จึงนำเสนอแนวความคิดในการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน เรียกว่า “ทฤษฎีการจัดการองค์การขนาดใหญ่ (Bureaucracy)” เป็นทฤษฎีองค์การที่มีความเป็นเหตุเป็นผล (rational) และเป็นทางเลือกที่นำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency)

ส่วนประกอบทางความคิดของระบบราชการของเวเบอร์

1.แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรประกอบด้วย
1.1 ผู้นำหรือกลุ่มผู้นำ
1.2 เจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อทำงานตามหน้าที่
1.3 สมาชิกขององค์กรอื่นๆที่เหลือ
2. แนวคิดเกี่ยวกับอำนาจ
อำนาจหน้าที่ ( Authority ) ต้องแยกออกจากอำนาจ ( Power ) เพราะอำนาจหน้าที่เป็นอำนาจหน้าที่เป็นอำนาจความชอบธรรมในการสั่งการที่ไม่ขึ้นกับตัวบุคคล
เวเบอร์แบ่งอำนาจเป็น 3 ประเภท คือ
1. อำนาจบารมี ( Charismatic Authority) มาจากลักษณะส่วนตัวของบุคคลที่เหนือกว่าคนอื่น
2. อำนาจประเพณี ( Traditional Authority ) เป็นการสืบทอดอำนาจกันมา
3. อำนาจตามกฎหมาย ( Legal Authority ) เป็นอำนาจที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ผู้บังคับบัญชา
และผู้ใต้บังคบบัญชา
3. แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบในอุดมคติ
ตามทรรศนะของเวเบอร์เห็นว่าใช้เหตุผลตามกฎหมายเป็นเหตุผลที่ดีที่สุด


แนวคิดและหลักการของ “ระบบราชการ”

มีการแบ่งงานกันทำตามแนวราบ ( Horizontal Delegation) ทำให้กระบวนการทำงานในองค์การทั้งระบบมีผู้รับผิดชอบ และมีการแบ่งงานกันทำเพื่อให้เกิดความชำนาญเฉพาะอย่าง

องค์การนั้นๆต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ( Authority Hierarchy ) : โดยสำนักงานและตำแหน่งงานที่อยู่ใต้หน่วยงาน หรือ ตำแหน่งงานนั้นอยู่ใต้การดูแลในระดับสูงขึ้นไป

ระบบคัดเลือกคนงาน ( Formal Selection ) : ผู้ที่เข้าร่วมในหน่วยงานจะถูกคัดเลือกตามความสามารถและคุณสมบัติ ที่มีระบบการคัดเลือกและการสอบคัดเลือกอย่างเป็นทางการ

มีการยึดหลักกฎหมายและบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ( Evidence and Reference )

องค์การต้องมีระเบียบ และกฎเกณฑ์ ( Formal Rules and Regulations ) : ทั้งนี้เพื่อให้สามารถประกันความเป็นเอกภาพในการดำเนินการ และกำกับการทำงานของพนักงาน

ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ( Impersonality ) : ไม่มีการถือเอาสายสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นใหญ่ ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถ้าจะทำอะไรต้องเป็นไปตามเกณฑ์

การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ ( Career Orientation ) : คนทำงานจะเข้าสู่ตำแหน่งตามความสามารถของแต่ละคน มีเลื่อนขั้น และการเติบโตในหน่วยงานได้ตามลำดับ

ข้อดีของ “ระบบราชการ”

-ลำดับขั้นการบังคับบัญชาเป็นเครื่องมือควบคุมสมาชิกและความสัมพันธ์ที่มี
ต่อกัน
-ไม่สับสนในบทบาท เพราะแต่ละคนรู้ว่าจะทำอะไรและสามารถตรวจสอบได้
-การมีกฎระเบียบทำให้รู้บทบาท ช่วยลดต้นทุนในการกำกับดูแล
-การทำงานขององค์การมีความแน่นอน มีลักษณะเป็นหลักฐานอ้างอิงได้
-มีการแบ่งแยกงานถือหลักความชำนาญเฉพาะด้าน
-กระบวนการทำงานในองค์การทั้งระบบมีผู้รับผิดชอบ
-ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทุกคนต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่
วางไว้

ข้อเสียของ “ระบบราชการ”

-มีองค์การปฏิบัติงานกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางซับซ้อน จนไม่อาจจัดระบบควบคุมตรวจสอบดุลพินิจใน การใช้อำนาจของข้าราชการทุกคนเป็นการเฉพาะรายได้
-ระเบียบข้อบังคับจำนวนมากนี้ได้สร้างความเคยชินกับ ข้าราชการว่าต้องเน้นความถูกต้องตามระเบียบมากกว่าประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงาน
-มีมาตรฐานการจ้างงานเพียงมาตรฐานเดียว ซึ่งทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับราคา
-เป็นระบบที่ยากที่จะทำลายได้ การไม่กล้าเปลี่ยนแปลงนี้สืบเนื่องมาจากคนไม่กล้าทำลายกฎระเบียบที่มีอยู่ เพราะอาจทำให้องค์กรแตกสลาย หรือนำไปสู่การเล่นพรรคเล่นพวก
-มีแนวโน้มที่จะผูกขาดข้อมูลข่าวสาร ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและทำตัวเป็นเผด็จการ


By นางสาว กนกวรรณ ธาตุอินจันทร์ ID 4831205222

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

นส.กนกวรรณ ธาตุอินจันทร์ (แอนนา) ม.แม่ฟ้าหลวง
กรุณาติดต่อมาที่ เบอร์ 0848782220 มดX