วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

ระบอบการเมืองการปกครอง

การปกครองของประเทศทั้งหลายในโลกแบ่งออกได้ 2 ระบอบใหญ่ ๆ คือ
1.1 ระบอบเผด็จการ หมายถึง การปกครองที่เน้นอำนาจรัฐเหนือเสรีภาพของ บุคคล ผู้ปกครองอาจ
เป็นคนเดียวหรือหลายคนเข้ายึดอำนาจหรือผูกขาดการใช้อำนาจรัฐยาวนาน ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม
คำสั่งผู้ขัดขวางจะได้รับการลงโทษที่รุนแรง
1.2 ระบอบประชาธิปไตย หมายถึง อำนาจเป็นของประชาชน หรือประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ
หลักการขั้นมูลฐานคือ การยอมรับ นับถือความสำคัญและศักด์ิศรีของความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาค
และเสรีภาพในการดำเนินชีวิต
ระบอบประชาธิปไตย มีรูปแบบการปกครอง 2 รูปแบบคือ
1) ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทรงเป็นกลางทางการเมือง แต่จะ
ทรงใช้อำนาจ อธิปไตย ซึ่งเป็นของปวงชน ได้แก่ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
ผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลโดยลำดับ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ไทย ญี่ปุ่น เป็นต้น
2) ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขมี 2 แบบ คือ ผู้ที่เป็น
ประธานาธิบดีได้รับเลือกจากประชาชน ทำหน้าที่เป็นประมุขของรัฐ แต่ไม่ได้เป็น ประมุขฝ่ายบริหาร ตัวอย่างเช่น
ประธานาธิบดีของสิงคโปร์ อินเดีย เป็นต้น และอีกแบบคือ ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งเป็นประมุขของรัฐ
และเป็นประมุขฝ่ายบริหารด้วย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ เป็นต้น
การปกครองแบบประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ
(1) ระบบรัฐสภา เป็นการปกครองที่ประกอบด้วยสามสถาบัน คือ สถาบันนิติบัญญัติ
บริหารและตุลาการ สถาบันนิติบัญญัติประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งและวุฒิสภาทั้งสอง
ทำหน้าที่ ร่วมกันในรัฐสภามีอำนาจในการออกกฎหมาย ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งรัฐบาล ควบคุมการทำงาน
ของรัฐบาล ฝ่ายบริหารประกอบด้วยรัฐบาล ส่วนศาลหรือฝ่ายตุลาการจะทำหน้าที่โดยอิสระ ประเทศที่เป็น
แม่แบบของการปกครองแบบรัฐสภา คือ อังกฤษ
(2) ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา เป็นการปกครองที่ประกอบด้วย 3 สถาบันหลักคือ
สถาบันนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ เป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ประกอบด้วย
ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และประมุขฝ่ายบริหาร บริหารประเทศร่วมกับนายกรัฐมนตรี รัฐสภามีอำนาจ
หน้าที่ในการออกกฎหมาย ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต้องบริหารงาน
โดยรับผิดชอบต่อสภา ประธานาธิบดีจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย ต่างประเทศโดยทั่วไป และมีอำนาจยุบสภาได้
นอกจากนี้ประธานาธิบดียังทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการระหว่างรัฐสภากับคณะรัฐมนตรีด้วย ได้แก่ ฝรั่งเศส
ออสเตรีย ไอร์แลนด์
(3) ระบบประธานาธิบดี เป็นการปกครองที่ประกอบด้วย 3 สถาบันหลักคือ สถาบันนิติบัญญัติ
บริหารและตุลาการ แต่ละสถาบันจะมีอำนาจในขอบเขตของตนเอง ตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ สถาบัน
ผู้ที่ใช้อำนาจทั้ง 3 ฝ่ายจะเป็นตัวที่คอยถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน เช่น รัฐสภาเป็นฝ่ายออกกฎหมาย
มาบังคับใช้ ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้ง ผู้พิพากษาศาลสูงสุด แต่ศาลมีสิทธิจะเชิญประธานาธิบดีมา
ให้การเรื่องเกี่ยวกับการบริหารได้ ประธานาธิบดี ไม่มีสิทธิยุบสภา รัฐสภาไม่มีสิทธิลงมติไม่ไว้วางใจ ประธานาธิบดี
ตัวอย่างแม่แบบของการ ปกครองแบบประธานาธิบดีที่กล่าวนี้คือ สหรัฐอเมริกา

By นางสาว กนกวรรณ ธาตุอินจันทร์ ID 4831205222

ไม่มีความคิดเห็น: