วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การเมืองการปกครอง

ระบอบการเมืองการปกครองการปกครองของประเทศทั้งหลายในโลกแบ่งออกได้ 2 ระบอบใหญ่ ๆ คือระบอบเผด็จการ หมายถึง การปกครองที่เน้นอำนาจรัฐเหนือเสรีภาพของ บุคคล ผู้ปกครองอาจเป็นคนเดียวหรือหลายคนเข้ายึดอำนาจหรือผูกขาดการใช้อำนาจรัฐยาวนาน ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งผู้ขัดขวางจะได้รับการลงโทษที่รุนแรงระบอบประชาธิปไตย หมายถึง อำนาจเป็นของประชาชน หรือประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจหลักการขั้นมูลฐานคือ การยอมรับ นับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตระบอบประชาธิปไตย มีรูปแบบการปกครอง 2 รูปแบบคือ1) ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทรงเป็นกลางทางการเมือง แต่จะทรงใช้อำนาจ อธิปไตย ซึ่งเป็นของปวงชน ได้แก่ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลโดยลำดับ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ไทย ญี่ปุ่น เป็นต้น2) ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขมี 2 แบบ คือ ผู้ที่เป็นประธานาธิบดีได้รับเลือกจากประชาชน ทำหน้าที่เป็นประมุขของรัฐ แต่ไม่ได้เป็น ประมุขฝ่ายบริหาร ตัวอย่างเช่นประธานาธิบดีของสิงคโปร์ อินเดีย เป็นต้น และอีกแบบคือ ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งเป็นประมุขของรัฐและเป็นประมุขฝ่ายบริหารด้วย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ เป็นต้นการปกครองแบบประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ(1) ระบบรัฐสภา เป็นการปกครองที่ประกอบด้วยสามสถาบัน คือ สถาบันนิติบัญญัติบริหารและตุลาการ สถาบันนิติบัญญัติประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งและวุฒิสภาทั้งสองทำหน้าที่ ร่วมกันในรัฐสภามีอำนาจในการออกกฎหมาย ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งรัฐบาล ควบคุมการทำงานของรัฐบาล ฝ่ายบริหารประกอบด้วยรัฐบาล ส่วนศาลหรือฝ่ายตุลาการจะทำหน้าที่โดยอิสระ ประเทศที่เป็นแม่แบบของการปกครองแบบรัฐสภา คือ อังกฤษ(2) ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา เป็นการปกครองที่ประกอบด้วย 3 สถาบันหลักคือสถาบันนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ เป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ประกอบด้วยประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และประมุขฝ่ายบริหาร บริหารประเทศร่วมกับนายกรัฐมนตรี รัฐสภามีอำนาจหน้า ที่ในการออกกฎหมาย ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต้องบริหารงานโดยรับผิดชอบต่อสภา ประธานาธิบดีจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย ต่างประเทศโดยทั่วไป และมีอำนาจยุบสภาได้นอกจากนี้ประธานาธิบดียังทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการระหว่างรัฐสภากับคณะรัฐมนตรีด้วย ได้แก่ ฝรั่งเศสออสเตรีย ไอร์แลนด์(3) ระบบประธานาธิบดี เป็นการปกครองที่ประกอบด้วย 3 สถาบันหลักคือ สถาบันนิติบัญญัติบริหารและตุลาการ แต่ละสถาบันจะมีอำนาจในขอบเขตของตนเอง ตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ สถาบันผู้ที่ใช้อำนาจทั้ง 3 ฝ่ายจะเป็นตัวที่คอยถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน เช่น รัฐสภาเป็นฝ่ายออกกฎหมายมาบังคับใช้ ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้ง ผู้พิพากษาศาลสูงสุด แต่ศาลมีสิทธิจะเชิญประธานาธิบดีมาให้การเรื่องเกี่ยวกับการบริหารได้ ประธานาธิบดี ไม่มีสิทธิยุบสภา รัฐสภาไม่มีสิทธิลงมติไม่ไว้วางใจ ประธานาธิบดีตัวอย่างแม่แบบของการ ปกครองแบบประธานาธิบดีที่กล่าวนี้คือ สหรัฐอเมริกา

By นางสาวกนกวรรณ ธาตุอินจันทร์ ID: 4831205222

แกะรอยการเมือง รัฐประหาร !
"หากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การกบฎ และรัฐประหารในประเทศไทยต้องยอมรับว่า มักเกิดขึ้นใน 3 เดือนอันตรายแทบทั้งสิ้น นั่นคือ กันยายน ตุลาคม และ พฤศจิกายน...!!!" หรือเรากำลังเดินไปสู่การรัฐประหารอีกครั้ง...เพราะยิ่งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยกระดับการเคลื่อนไหว ความเสี่ยงต่อการเกิดรัฐประหาร ก็สูงขึ้นตามไปด้วย สถิติการรัฐประหาร ในช่วง 3 เดือน ไม่ได้อยู่บนความบังเอิญอย่างแน่นอน ... และเวลานี้ เดินทางมาถึงช่วง 3 เดือนอันครายอีกครั้ง 3 เดือนแห่งการโยกย้ายนายทหาร ประวัติศาสตร์การรัฐประหาร มันเกี่ยวข้องกับโผทหารเกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความไม่พอใจที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายน ก่อนที่จะมีการแต่งตั้ง หรือการรัฐประหาร ในเดือนตุลาคม และช่วงเดือนพฤศจิกายน หลังจากทราบผลชัดเจนแล้วว่า โผทหารออกมาอย่างไร หรือไม่ก็การรัฐประหารเดือนเมษายน ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับเดือนแห่งการโยกย้ายนายทหารอีกแล้ว - รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 - รัฐประหาร 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 - รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 - รัฐประหาร 14 ตุลาคม พ.ศ 2516 - รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534... ซึ่งเหตุผลหลักมาจากความขัดแย้งนายทหารอีกเช่นกัน และ...19 กันยายน พ.ศ.2549 ส่วนเหตุผลที่อ้างในคำประกาศการทำรัฐประหารไม่ว่า จะเป็นเรื่องคอร์รัปชันหรือที่เกี่ยวข้องกับสถาบันเบื้องสูง...มักเป็นเหตุผลเกิดขึ้นภายหลังเกือบทั้งสิ้น... โยกย้ายนายทหาร ปี พ.ศ. 2551...ไม่ได้ราบเรียบนัก เหตุเพราะถูกผูกขาดอยู่ในบางขั้วอำนาจ วันนี้จะเกิดรัฐประหารไหม ไปไหนมักถูกถามคำถามเหล่านี้ตลอด...หลังจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บุกเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลสำเร็จ และมาพร้อมกับคำประกาศ "แตกหัก" (อักครั้ง) จากปากนายรัฐมนตรี คำถาม ที่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ...เพราะทุกครั้งที่เกิดการเว้นวรรคประชาธิปไตย ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศแทบทั้งสิ้น ตัวอย่าง 19 กันยายน 2549 น่าจะเป็นบทเรียนได้เป็นอย่างดี ว่า การรัฐประหาร ไม่ใช่ "ประชาธิปไตยทางเลือก" และทหารเองก็ได้สรุปบทเรียนแล้วว่า โมเดล 19 กันยายน 2549 มีอาจนำมาใช้ในการรัฐประหารได้อีกแล้ว เพราะเมื่อ 2 ปีที่แล้ว อ้างว่ารัฐประหารก่อนจะเกิดเหตุการณ์เองเลือด...ทำให้มีเสียงตอบรับจากประชาชนสูงมาก...แต่ถึงวันนี้ ย่อมนำมาอ้างอีกไม่ได้ ในเมื่อการรัฐประหารยังไม่สูญหายจากสังคมไทย แถมมีข้อจำกัด “ความชอบธรรม” ไม่สามารถดำเนินการก่อนนองเลือดได้... จึงถูกบีบให้เลือกหนทางที่ไม่พึงปรรถนา ปะทะ...นองเลือด...และรัฐประหาร บันได 3 ชั้น ที่โอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ยิ่งสังคมมีความขัดแย้งสูงขึ้นเท่าไร โอกาสรัฐประหารก็เพิ่มขึ้นเท่าตัว และยิ่งหาก "ผู้นำ" เป็นผู้เติมเชื้อเพลิงให้เกิดภาวะสังคมเลือกข้าง...อย่างที่ประกาศออกมาวานนี้ โอกาสที่คนในชาติจะเกิดความสมานฉันท์ "ริบหรี่" ลงเรื่อยๆ รัฐประหารยุติได้ ต้องเริ่มจากกลุ่มพันธมิตรยุติการเคลื่อนไหว ... พร้อมๆ กับการประกาศ "ลาออก" ของนายกรัฐมนครี เนื่องจากตลอดเวลา 6 เดือนในการบริหารประเทศ ประเทศอยู่ในภาวะที่ "ไร้การนำ" ประเทศที่ตกอยู่ในสภาพไร้รัฐ ...ที่สำคัญ ท่าที และความคิด "สังคมเลือกข้าง" ยิ่งก่อให้เกิดความแตกแยกของคนในสังคมเพิ่มขึ้น โหวดหาตัวนายกรัฐมนตรี "คนใหม่" ที่อยู่ในกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลน่าจะเป็นทางออกในระบอบประชาธิปไตย ที่สวยงามที่สุด เพราะทุกฝ่ายคงไม่อยากเห็นการเข่นฆ่าประชาชนคนไทยด้วยกันเอง...อีกแล้ว !!!
By นางสาวกนกวรรณ ธาตุอินจันทร์ ID: 4831205222







นปก.ขู่ยึดสภาฯ เลียนแบบพันธมิตร หากตั้งรัฐบาลใหม่

สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม ขอขอบคุณภาพประกอบจาก หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ และ INN News เมื่อเวลา 17.00 น. วานนี้ (30 สิงหาคม) กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.) ได้เคลื่อนไหวต่อต้านกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยเปิดเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผู้เข้าร่วมหลายพันคน ส่วนใหญ่ใส่เสื้อสีแดง หรือมีผ้าพันคอสีแดงเป็นสัญลักษณ์ ขณะที่นายชินวัฒน์ หาบุญพาด แกนนำ นปก. กล่าวว่า จุดประสงค์ของการชุมนุมครั้งนี้มี 3 ประการ คือ 1.สนับสนุนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 2.ให้มีการบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มพันธมิตรฯ 3.เป็นการประกาศว่า ประชาชนไม่ได้เห็นด้วยกับกลุ่มพันธมิตรฯ ทั้งหมด ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากพรรคพลังประชาชนเปิดเผยว่า ในช่วงเช้าวันที่ 30 สิงหาคม ที่ทำการพรรคพลังประชาชน มีรัฐมนตรีในโควต้าของ "กลุ่มเพื่อนเนวิน" ทั้ง 4 คน ประกอบด้วย นายทรงศักดิ์ ทองศรี นายสุพล ฟองงาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายธีระชัย แสนแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งนายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วน และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตแกนนำ นปก. นั่งหารือถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่อยู่ในภาวะวิกฤต และหารือถึงการจัดระบบการเคลื่อนมวลชนมาให้กำลังใจนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และพรรคพลังประชาชน ให้อยู่ทำหน้าที่ต่อไป รวมตั้งต่อต้านกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ชุมนุมยึดทำเนียบรัฐบาล โดยได้แจ้งให้แกนนำ นปก. รวมทั้ง ส.ส.พรรคพลังประชาชน บางส่วนเตรียมความพร้อมไว้ โดย นายจตุพร กล่าวภายหลังการประชุมว่า ขณะนี้แกนนำ นปก.ได้หารือและมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรวันนี้เลยเถิดไปมากแล้ว เพราะกระทำตนเป็นพวกอนารยะขัดศาล ไม่สนใจกฎหมาย ที่ผ่านมาประชาชนผู้ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของกลุ่มพันธมิตรไม่ออกมาเคลื่อนไหวเพราะเกรงว่าประเทศจะวุ่นวาย แต่วันนี้ไม่ได้แล้ว เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกละเลย และรัฐบาลไม่สามารถนำคำวินิจฉัยของศาลให้เป็นไปตามกฎหมายได้ นปก.อาจจะต้องออกเคลื่อนไหวเร็วกว่าเวลาที่สมควร ขณะนี้กลุ่มผู้ขับแท็กซี่ได้เริ่มก่อกองไฟความไม่พอใจกลุ่มพันธมิตรไว้ที่สนามหลวงบางส่วนแล้ว เชื่อว่าต่อไปประชาชนที่ไม่พอใจกลุ่มพันธมิตรจะออกมาร่วมแบบมืดฟ้ามัวดิน
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า วันนี้ประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยกำลังจับตามองการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกรณีกลุ่มพันธมิตรฯ วันนี้ไม่ยอมรับในอำนาจตุลาการ อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหาร จนทำให้ประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยเกิดความไม่พอใจ กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ควรคิดว่าตัวเองมีนกหวีดเพียงคนเดียว เพราะวันนี้กลุ่มประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยเตรียมลั่นฆ้องชัยแสดงพลังทุกแนวทางในไม่ช้านี้ เพราะบ้านเมืองไม่สามารถแบกรับความเสียหายที่กลุ่มพันธมิตรฯ สร้างไว้ได้นานนัก ทางด้านนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำ นปก. กล่าวว่า จะมีประชาชนมาร่วมชุมนุมด้วยประมาณ 5,000 คน จากทั่วประเทศ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหากรณีกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ใช้กฎหมู่เหนือกฎหมายและอยากเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีอย่าลาออก เพราะจะทำให้อำนาจอนาธิปไตยเป็นใหญ่ นอกจากนี้ หากมีรัฐบาลใหม่กลุ่ม นปก.จะไปยึดทำเนียบรัฐบาลบ้าง แต่ นปก.จะไม่ชุมนุมใกล้กับพื้นที่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ อย่างเด็ดขาด เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกัน และเมื่อบรรลุเป้าหมายการชุมนุมแล้วจะไปปักหลักชุมนุมต่อที่ท้องสนามหลวง อย่างไรก็ตาม ล่าสุดวันนี้ (31 สิงหาคม 2551 ) กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ หรือ นปก. กว่า 1,000 คน ชุมนุมปิดถนนอู่ทองใน หน้ารัฐสภา ตำรวจหลายร้อยนาย ตรึงกำลังที่รัฐสภา เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ขณะเดียวกันได้มีการปิดประตูที่หน้ารัฐสภาให้ผ่านเข้าออกเฉพาะผู้มีบัตร ทั้งนี้ นปก. ยังได้ทยอยมาร่วมชุมนุมอย่างต่อเนื่อง และจะไปชุมนุมต่อในช่วงเย็นนี้ที่สนามหลวง
By นางสาว กนกวรรณ ธาตุอินจันทร์ ID: 4831205222

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy: PAD) เกิดจากการรวมตัวกันของหลายองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์กรอิสระภาคประชาชน จุดประสงค์หลักของการรวมตัวเพื่อกดดันขับไล่ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเห็นว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจส่วนตัวและคนสนิทและประพฤติผิดอีกหลาย ๆ อย่างอันไม่สมควรในการเป็นผู้บริหารประเทศ โดยประสานงานโดยสุริยะใส กตะศิลา และมีแกนนำ 5 คน ได้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, สมศักดิ์ โกศัยสุข, พิภพ ธงไชย, สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์

เนื้อหา[ซ่อน]
1 ก่อนและหลังการปฏิรูปโดย คปค.
2 การกลับมาเคลื่อนไหวของพันธมิตรภายใต้รัฐบาลสมัคร
3 สัญลักษณ์ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
4 โครงสร้างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
4.1 ภาคเหนือ
4.2 ภาคตะวันออก
4.3 ภาคอีสาน
4.4 ภาคใต้
4.5 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
4.6 เครือข่ายสันติอโศก
4.7 เครือข่าย NGO
4.8 กลุ่มนักวิชาการ
4.9 คณะกรรมการพลังแผ่นดิน
5 อ้างอิง
6 ดูเพิ่ม
7 แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนและหลังการปฏิรูปโดย คปค.
ดูบทความหลักที่ การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายสนธิ ลิ้มทองกุล และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ให้สัมภาษณ์ข่าวเกี่ยวกับทฤษฎี "แผนฟินแลนด์" และกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้สมคบคิดกับอดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี ยึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทย และก่อตั้งรัฐคอมมิวนิสต์ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอดีตผู้นำและผู้ร่วมพคท. ได้ปฏิเสธว่า แผนสมคบคิดนี้ไม่ได้มีอยู่จริง แต่มีประชาชนบางส่วนปักใจเชื่อว่าเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นจริงและกำลังถูกดำเนินการอยู่ ซึ่งเป็นสาเหตุให้คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ภายหลังรัฐประหารสำเร็จได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ก่อการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย[1][2][3]
หลังจากเกิดการปฏิรูปโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทางกลุ่มพันธมิตรฯซึ่งแผนการเดิม จะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เพื่อขับไล่รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตำแหน่ง ก็ได้ยุติการชุมนุมไป แล้วทิศทางในปัจจุบันนี้คือ ทางแกนนำกลุ่มพันธมิตรทั้ง 5 คน ก็ได้ตัดสินใจแยกทางกันตามปกติ ยุติการเคลื่อนไหวแล้ว แต่ก็ยังมีการจับตาทางฝ่ายของอดีตนายกรัฐมนตรีอยู่ เพื่อไม่ให้อดีตนายกรัฐมนตรีรวมทั้งคณะรัฐมนตรีในพรรคไทยรักไทย ที่ได้จัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งปลายปี พ.ศ. 2550 แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมหรือแทรกแซงระบบราชการ
การกลับมาเคลื่อนไหวของพันธมิตรภายใต้รัฐบาลสมัคร
ดูบทความหลักที่
การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551

กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ชุมนุมใหญ่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีประชาชนมาร่วมฟังการปราศรัยนับหมื่นคน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2551

วิกิซอร์ซ มีข้อมูลต้นฉบับเกี่ยวกับ:แถลงการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลผสมของนายสมัคร สุนทรเวช โดยมีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำ และ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับมายังประเทศไทย พร้อมกับมีคำสั่งโยกย้าย อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (ปชส.) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.สตช.) อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งอาจเป็นการแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรม [4]
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จัดสัมมนาทางวิชาการโดยนักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลที่สนใจในการเมืองที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 [5]และจัดชุมนุมอีกครั้งในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551
ในวันอาทิตย์ที่
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ได้จัดรวมตัวชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 รวมทั้งมีการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อถอดถอน ส.ส. ส.ว. ที่เข้าชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในเวลาค่ำได้เคลื่อนขบวนไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสกัดกั้นไว้ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ จึงได้ปักหลักปิดถนนราชดำเนินนอก ตั้งแต่บริเวณหน้าสำนักงานสหประชาชาติ จนถึงแยก จ.ป.ร. บริเวณหน้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อย่างต่อเนื่อง
การชุมนุมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง พร่อมกับการเข้าร่วมของสมาพันธ์แรงงาน
รัฐวิสาหกิจ [6][7] และในวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551 จึงได้เคลื่อนขบวนไปปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล และชุมนุมต่อบนถนนพิษณุโลก [8]
26 สิงหาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้บุกรุกเข้าไปในสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ "เพื่อทวงสมบัติชาติคืนจากรัฐบาล เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลใช้สถานีโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการโจมตีกลุ่มพันธมิตรฯ อย่างต่อเนื่อง"[9] แต่การเข้าบุกรุกครั้งนี้ได้รับการประณามจากสมาคมนักข่าวและหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ว่า "ถือว่าเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนอย่างรุนแรงและอุกอาจที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะมีการคุกคาม ข่มขู่และขัดขวางการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน"[10] และยังถูกประณามจากสมาคมผู้สื่อข่าวแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ผู้สื่อข่าวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่า "การกระทำของผู้ชุมนุมในนามกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุด และโจมตีเสรีภาพของสื่ออย่างโจ่งแจ่งที่สุด ขณะนี้สื่อมวลชนถูกคุกคาม ข่มขู่ และไม่ได้ทำหน้า ที่ของตนเอง และการบุก NBT ครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้"[11]
สัญลักษณ์ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
กลุ่มผู้เข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะใส่เสื้อสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ และคาดผ้าโพกศีรษะที่มีข้อความว่า "กู้ชาติ" และผ้าพันคอสีฟ้า
[12]ซึ่งเป็นผ้าพันคอพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2549 [13]
โครงสร้างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ภาคเหนือ
กลุ่มพันธมิตรพิษณุโลก มีนายภูริทัต สุธาธรรม เป็นแกนนำ
[14]
ชุมนุมลุ่มน้ำภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยประชาชนจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง อาทิเช่น ตาก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ฯลฯ
[15]

ภาคตะวันออก
กลุ่มพันธมิตรภาคตะวันออก มีนายสุทธิ อัชฌาศัย เป็นประธานเครือข่าย ประกอบด้วยประชาชนจากอำเภอต่างๆ ในเขตจังหวัดชลบุรี อาทิเช่น อ.เมือง อ.พนัสนิคม อ.ศรีราชา อ.บ้านบึง อ.สัตหีบ อ.บางละมุง อ.บ่อทอง อ.หนองใหญ่ อ.พานทอง อ.เกาะสีชัง รวมถึงประชาชนจากจังหวัด ระยอง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ตราด
[16]
กลุ่มพันธมิตรฯ พัทยา-นาเกลือ-บ้านบึง-พนัส มีนายยงยุทธ เมธาสมภพ เป็นประธานเครือข่าย
[17]
คณะทำงานพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยจังหวัดเลย มี นายหินชนวน อโศกตระกูล เป็นแกนนำ
[18]

ภาคอีสาน
สมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทยจังหวัดขอนแก่น มีนางเครือมาศ นพรัตน์ เป็นประธานสมัชชาประชาชนฯ และนายเธียรชัย นนยะโส เป็นรองประธานฯ
[19]
สมัชชาประชาชนภาคอีสานจังหวัดบุรีรัมย์ มีนางสำเนียง สุภัณพจน์ เป็นประธาน มีแนวร่วมเป็นองค์กรเครือข่าย 18 องค์กร
[20]

ภาคใต้
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยสตูล มี นางอุดมศรี จันทร์รัศมี
[21]และ อ.ประโมทย์ สังหาร[22] เป็นแกนนำ
สมัชชาภาคใต้ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (กำลังก่อตั้ง)
[23]

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ประกอบด้วยกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจจำนวน 43 แห่ง กลุ่มหลักอยู่ที่ สหภาพ รสก. การไฟฟ้า, สหภาพ รสก. การรถไฟ
[24]
แกนนำ
ศิริชัย ไม้งาม[25]

เครือข่ายสันติอโศก
เครือข่ายสันติอโศก มีพุทธสถานสันติอโศกและสาขาอีก 8 สาขา ดังต่อไปนี้
[26]
พุทธสถานสันติอโศก ตั้งอยู่ถนนสุขาภิบาล 1 เขตบึงกุ่ม กรุงเทพ
พุทธสถานปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม
พุทธสถานศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ
พุทธสถานศาลีอโศก จังหวัดนครสวรรค์
พุทธสถานสีมาอโศก จังหวัดนครราชสีมา
พุทธสถานราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี
พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ จังหวัดเชียงใหม่
พุทธสถานทักษิณอโศก จังหวัดตรัง
พุทธสถานหินผา

เครือข่าย NGO
NGO ภาคใต้ มีแกนนำโดย
บรรจง นะแส
NGO ภาคเหนือ มีแกนนำโดย
สุริยันต์ ทองหนูเอียด

กลุ่มนักวิชาการ
กลุ่มรัฐศาสตร์จุฬาฯ
กลุ่มนักวิชาการที่ใกล้ชิดกับเครือข่ายผู้จัดการ

คณะกรรมการพลังแผ่นดิน
เป็นคณะทำงานที่ทางพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้จัดตั้งขึ้น โดนเป็นคณะทำงานที่ประสานงานในภาคราชการส่วนต่าง ๆ มีสมาชิกเป็นข้าราชการระดับสูงทั้งที่เกษียณแล้วและยังมิได้เกษียณ โดยแบ่งออกตามประเภทของข้าราชการ ดังนี้
กองทัพบกพล.อ.
ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ เป็นประธานและเป็นประธานคณะกรรมการพลังแผ่นดิน
กองทัพเรือพล.ร.ท.
อรุณ เสริมสำราญ เป็นประธาน
กองทัพอากาศพล.อ.อ.
เทอดศักดิ์ สัจจารักษ์ เป็นประธาน
กองบัญชาการตำรวจแห่งชาติพล.ต.ท.
สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ เป็นประธาน
ข้าราชการพลเรือนนาย
กษิต ภิรมย์ เป็นประธาน[27]

เขียนโดย น.ส.ศิวะพร จันทร์ตรี ID : 5131601599
พันธมิตรยื่นคำขาดตร.ส่งตัวผู้สั่งการสลายม็อบภายใน 1 ทุ่ม-ขู่ก่อเหตุรุนแรง
นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำคนสำคัญของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศบนเวทีปราศรัยภายในทำเนียบรัฐบาลว่า แกนนำพันธมิตรทุกคนมีมติยื่นคำขาดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจัดส่งตัวผู้สั่งการสลายการชุมนุมบริเวณด้านในและรอบทำเนียบรัฐบาลเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา รวมทั้งเจ้าหน้าที่ลงมือทำร้ายประชาชนมาให้พันธมิตรดำเนินคดี ภายใน 19.00 น.วันนี้

นายสนธิ กล่าวว่า หากตำรวจไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้องก็จะจัดแนวร่วมพันธมิตรจำนวนนับแสนคนไปปิดล้อมกองบัญชาการตำรวจนครบาล(บชน.)และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่รับรองว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น รวมถึงการก่อเหตุร้ายในกรุงเทพด้วย นอกจากนี้ นายสนธิ ยังระบุอีกว่า หากเจ้าหน้าที่ตำรวจยังทำร้ายประชาชนอีก สถานีตำรวจในกรุงเทพทุกแห่งจะลุกเป็นไฟ "ถ้าภายใน 19.00 น.วันนี้ไม่ดำเนินการ เราจะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด"นายสนธิ ประกาศ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ยังได้จัดกำลังราว 4-5 หมื่นคนทันทีเพื่อปิดล้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนที่พักอยู่ภายในสนามม้านางเลิ้งราว 4 พันนาย
เขียนโดย น.ส.ศิวะพร จันทร์ตรี ID : 5131601599
(เพิ่มเติม) ผบ.ทบ.ยืนยันทหารไม่คิดปฏิวัติ เพราะไม่ใช่ทางออกการแก้ไขปัญหา
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.)กล่าวยืนยันว่า ฝ่ายทหารไม่มีแนวคิดที่จะปฏิวัติรัฐประหารในขณะนี้ เพราะเชื่อว่าการปฏิวัติไม่ใช่ทางออกที่จะสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ในวันนี้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้เข้าร่วมประชุมสภากลาโหม โดยภายหลังการประชุม ผบ.ทบ. กล่าวว่า ในการประชุมวันนี้นายกรัฐมนตรีไม่ได้นำเรื่องเหตุการณ์ช่วงเช้าเข้าหารือ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้เชื่อว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าไปดูแลได้ เพียงแต่ต้องดำเนินการโดยไม่ใช้ความรุนแรง และไม่อยากให้เกิดความรุนแรงกับประชาชน โดยยังไม่จำเป็นที่ฝ่ายทหารจะเข้าไปยุ่งเกี่ยว แต่หากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการขอความช่วยเหลือมา ทางทหารก็พร้อมช่วยเหลือ แต่ก็ขึ้นกับการสั่งการของรัฐบาล กรณีที่มีข่าวว่ามีการเคลื่อนย้ายกำลังทหารนั้น ผบ.ทบ. กล่าวว่า เป็นการสับเปลี่ยนกำลังทหารที่มาจากฝึก ซึ่งสื่อบางสื่อได้มีการออกข่าวไปแล้ว สำหรับทางออกของการแก้ไขปัญหา ผบ.ทบ. กล่าวว่า อยากให้นึกถึงประเทศชาติ และทำตามกฎหมาย เพราะถ้าทำตามคำสั่งศาลเหตุการณ์น่าจะคลี่คลายได้มากกว่านี้ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า การนำพ.ร.ก.การบริหารราชการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินมาใช้ก็เชื่อว่าไม่ใช่เป็นทางออกของการแก้ไขปัญหาทั้งหมดเช่นกัน และไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะภาพลักษณ์ของประเทศที่จะสื่อออกไปต่างประเทศ จึงอยากเรียกร้องให้ 2 ฝ่ายอย่าใช้ความรุนแรง ทั้งพันธมิตรฯ เองก็ควรทำตามกฎหมาย ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่ควรใช้ความรุนแรง "อยากให้แกนนำทั้ง 2 ฝ่ายมาพูดคุยกันได้ก็น่าจะเป็นเรื่องดี ถ้าทุกคนระลึกถึงสถาบันคงไม่เกิดเรื่องนี้ขึ้น"ผบ.ทบ.กล่าว ส่วนความเป็นไปได้ของการนำกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.) เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ได้หรือไม่ ผบ.ทบ.ระบุว่า คงไม่ได้

เขียนโดย น.ส. ศิวะพร จันทร์ตรี ID : 5131601599

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ลองไปฟังท่านานยก แถลงการณ์ย้อนหลัง
สำหรับคนที่พลาดไปนะค่ะ
http://www.youtube.com/watch?v=_hSne3b91uA




By นางสาว กนกวรรณ ธาตุอินจันทร์ 4831205222

สื่อต่างชาติรายงานข่าวอย่างต่อเนื่อง [27 ส.ค. 51 - 04:38]
เมื่อวันที่ 26 ส.ค.สำนักข่าวต่างประเทศ ทั้งเอพี เอเอฟพี และรอยเตอร์ ยังตามรายงานเกาะติดวิกฤติการเมืองไทยอย่างต่อเนื่องว่า หลังกลุ่มผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯอย่างน้อย 20,000 คน ออกมาประท้วงใหญ่ มีการบุกเข้าไปที่สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีหรือช่อง 11 เก่า และอีกหลายกระทรวง รวมทั้งบริเวณทำเนียบรัฐบาล กดดันให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกฯ และรัฐบาลชุดปัจจุบันลาออก อ้างเป็นหุ่นเชิดของอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่ช่วงเช้า และแม้มีข่าวผู้ประท้วงบางกลุ่มมีอาวุธ แต่ก็ยังไม่พบมีเหตุรุนแรง ต่อมานายสมัครได้แถลงข่าวผ่านโทรทัศน์ว่า รัฐบาลหมดความอดทนแล้ว พร้อมให้คำมั่นจะใช้มาตรการเด็ดขาดจัดการกับกลุ่มผู้ประท้วง และว่าตำรวจจะใช้ทุกวิถีทาง เพื่อรื้อฟื้นความเป็นปกติสุขกลับมาโดยเร็วที่สุด ไม่นานจากนั้นตำรวจประกาศให้ผู้ ประท้วงออกจากบริเวณทำเนียบรัฐบาลภายใน 18.00 น. ไม่เช่นนั้นจะถูกผลักดันให้ออกไป แรงกระเพื่อมจากเหตุประท้วง ยังส่งให้หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ร่วง 2.26% ฝ่ายนักวิเคราะห์ชี้ว่า ความยุ่งเหยิงที่เกิดกับรัฐบาลในช่วงเศรษฐกิจฝืดเคืองและเงินเฟ้อสูง เป็นสิ่งสุดท้ายที่ระบบเศรษฐกิจต้องการ
นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการผู้อำนวยการศูนย์นเรนทร กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลในการรับมือเหตุรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นเพื่อรองรับ ผู้บาดเจ็บในการชุมนุมว่า ได้มีการประชุมเตรียมความพร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรุงเทพมหานคร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ สำหรับสถานพยาบาลทุกแห่ง ในบริเวณจุดต่างๆที่ใกล้กับสถานที่ชุมนุมทั่ว กทม. ได้มีการเตรียมพร้อมทั้งหมดแล้ว เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลพระมงกุฎ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล โดยได้เตรียมความพร้อมรถพยาบาลฉุกเฉิน ไว้กว่า 60 คัน เพื่อรองรับเหตุรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นที่สถานี วิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ขณะเดียวกันก็เตรียมพร้อมในทุกพื้นที่ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ด้วย โดยเฉพาะรถกู้ชีพทั้งของโรงพยาบาล และอาสาสมัคร เอกชนกว่าหลายร้อยคันด้วย
เขียนโดย น.ส.ศิวะพร จันทร์ตรี ID : 5131601599
ห่วงคนไทยเครียดแนะพักรับข่าวสาร [27 ส.ค. 51 - 04:37]
นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเมื่อวันที่ 26 ส.ค.ว่า เชื่อว่าประชาชนจะเกิดความเครียด และความวิตกกังวลแน่นอน คนที่ส่งบุตรหลานไปเรียนหนังสือก็จะวิตกกังวลว่าบุตรหลานของตัวเองจะไปโรงเรียนได้หรือไม่ ซึ่งตนอยากวิงวอนในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องในการชุมนุมครั้งนี้ว่าทำอะไรอยากให้คิดถึงคนส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯด้วย ซึ่งมีคนกรุงเทพฯอีกหลายล้านคนที่ไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมครั้งนี้ แต่กลับต้องมาได้รับผลกระทบ กิจการงานทุกอย่างต้องมาหยุดชะงัก ซึ่งก็ไม่ทราบว่ากลุ่มผู้ชุมนุมต้องการให้เกิดอะไรหรือไม่ แต่เชื่อว่าคงจะมีเหตุผล และตนเชื่อว่าหากไปถามประชาชนในกรุงเทพฯว่าสบายใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้หรือไม่ คนส่วนใหญ่จะรู้สึกอึดอัด และสงสัยว่าทำไมไม่พูดตกลงกันให้รู้เรื่อง อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เครียดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อยากแนะนำให้ลองมองในมุมกลับ พลิกวิกฤติเป็นโอกาส มองเป็นการพัฒนาการของประชาธิปไตย และเรียนรู้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เหมือนเป็นการสอนจากของจริง เพราะเหตุการณ์ในลักษณะนี้ล้วนเคยเกิดขึ้นมาแล้วในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ถ้าหากเกิดการเครียดจากการดูข่าวการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ควรพักหยุดรับข่าวสารบ้าง
เขียนโดย น.ส.ศิวะพร จันทร์ตรี ID : 5131601599
จาตุรนต์ ชมกองทัพย้ำไม่ปฏิวัติ [28 ส.ค. 51 - 05:25]
วานนี้ (27 ส.ค.) เวลา 16.00 น. ที่โรงแรมเรดิสัน นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย แถลงถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า การไม่ยอมรับกติกาของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นความคิดแบบอนาธิปไตยที่พยายามเคลื่อนไหวทุกวิถีทาง เพื่อให้มีการปฏิวัติรัฐประหาร มุ่งล้มรัฐบาลโดยใช้กำลัง อาวุธและความรุนแรง แต่มั่นใจว่าการกระทำดังกล่าวจะไม่สามารถยึดอำนาจได้สำเร็จ แม้กดดันโดยใช้กำลังให้ รัฐบาลควรลาออก เพราะการเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯไม่มีความชอบธรรม พยายามขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่ถูกต้อง ทำให้ขาดการสนับสนุนจากฝ่ายต่างๆ สังคมไทยจึงไม่เห็นดีเห็นงามกับแนวคิดที่จะให้เกิดการรัฐประหารอีกแล้ว เพราะก่อนหน้านี้ประเทศเคยผ่านจุดที่วิกฤติในลักษณะดังกล่าวมาก่อนแล้วจึงทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือ อย่างไรก็ตาม ต้องขอขอบคุณผู้นำกองทัพที่ให้ความเชื่อมั่นว่าจะไม่ให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร ดังนั้น องค์กรประชาธิปไตยควรจะมอบดอกไม้ให้กองทัพอีกครั้ง ส่วนรัฐบาลต้องอดทนต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และหลีกเลี่ยงความรุนแรงอย่างสุดความสามารถ ถึงจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดของเหตุการณ์นี้


พปช.หนุนมาตรการจับแกนนำพันธมิตร
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีศาลอนุมัติหมายจับแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 9 คน ว่า ถือเป็นการดำเนินการตามกฎหมายอย่างละม่อม โดยไม่ได้ใช้ความรุนแรงมาจัดการ เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะตลอดที่ผ่านมารัฐบาลใช้ความอดทน อดกลั้นมาตลอด ดังนั้นเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น รัฐบาลต้องดำเนินคดี เพราะบ้านเมืองมีกฎหมาย มีขื่อมีแปอยู่
ด้านนายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม รองโฆษกพรรคพลังประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องเดียวกันว่า เชื่อว่าเป็นผลดีต่อประเทศโดยรวม เนื่องจากพฤติกรรมกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นภัยต่อประเทศไทย และระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข และเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับที่ศาลอนุมัติหมายจับ จะเห็นได้จากผลสำรวจของกรุงเทพโพลที่ระบุชัดประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 72.6 ไม่ยอมรับกับพฤติกรรมการชุมนุมของพันธมิตรฯ เพราะเป็นการเคลื่อนไหวทำให้ประเทศเสียหายทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และนานาชาติโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวนั้น วันนี้เสียหายอย่างยับเยินแล้ว


“พัลลภ” โวยลั่นไม่ยุ่งกลุ่มพันธมิตร
วันเดียวกัน พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรองผู้อำนวย การรักษาความมั่นคงภายใน (รอง ผอ.รมน) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกรัฐบาล ออกมาระบุ ว่า พล.อ.พัลลภและ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ อยู่เบื้องหลังม็อบพันธมิตรฯและกลุ่มนักรบศรีวิชัยว่า ไม่จริง ไม่รู้จักกับคนพวกนี้ ไม่เคยยุ่งกับกลุ่มนี้แม้แต่ครั้งเดียว ดังนั้น จะไปเกี่ยวได้อย่างไร ในกลุ่มที่ตนรู้จักมีแต่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เท่านั้นเพราะเรียนด้วยกันและเป็นเพื่อนกันมานานตั้งแต่สมัยเรียน จปร. แต่ความคิดในการดำเนินการทางการเมือง ไม่ค่อยเหมือนกัน ไม่ค่อยไปยุ่งอะไรกับเขา ต่างคนต่าง ทำงานการเมืองในวิถีทางของตนเอง จึงแปลกใจที่มีข่าวว่าตนอยู่เบื้องหลังม็อบนี้ ขอย้ำอีกครั้งว่าที่ผ่านมาไม่เคยยุ่งกับม็อบนี้สักครั้ง ไม่เคยไปร่วม ไม่เคยขึ้นเวที จึงสงสัยว่าเหตุใดจึงโยงตนไปเกี่ยวกับม็อบนี้ได้

“เตช” ร่อนหนังสือแจงต่างชาติ
ด้านนายเตช บุนนาค รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศได้ออกโทรเลขถึงสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยในต่างประเทศทั่วโลกแล้ว โดยลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เวลา 05.30 น. ของวันที่ 26 ส.ค. ที่มีนักรบศรีวิชัยได้เข้าไปในที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยเอ็นบีที มาจนถึงตอนเย็น ซึ่งได้เข้าไปชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล อย่างไรก็ตาม วันนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศจะมีโทรเลขออกไปอีกเพื่อตอบคำถาม เพราะแน่นอนว่าทั้งโลกคงติดตามสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยว่าอะไรจะเกิดขึ้นใน 1-2 วันข้างหน้า ทั้งนี้ หวังว่าสถานการณ์ จะไม่บานปลาย และจะไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น เพราะถ้าเกิดขึ้นจะเป็นผลที่ไม่ดีอย่างยิ่งต่อประเทศไทยสิ่งที่เกิดขึ้นก็แน่นอนว่ากระทบกระเทือนการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ เราอยากจะให้ต่างประเทศเข้าใจว่าเหตุการณ์ ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตทางการเมืองประชาธิปไตยของไทย


แจงนายกฯรับชี้ขาดพาสปอร์ตแดง
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากการเมืองไทยเป็นแบบนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการขอลี้ภัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือไม่ นายเตชตอบว่า ไม่ทราบและขณะนี้กระบวนการขอลี้ภัยของอดีตนายกฯตนไม่ทราบว่าดำเนินการไปถึงไหนแล้ว และไม่ทราบว่าจะยกสถานการณ์ ปัจจุบันไปเป็นข้ออ้างด้วยหรือไม่ ส่วนการเพิกถอนหนังสือเดินทางการทูตของ พ.ต.ท.ทักษิณนั้น ได้หารือกับนายกฯแล้วเมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยนายกฯเป็นผู้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นพูดเอง และบอกว่าได้รับหนังสือจากกระทรวงการต่างประเทศ จะได้พิจารณาด้วยตัวเอง อีกทั้งบอกกับตนว่าไม่ต้องพูดถึงเรื่องนี้อีกต่อไป พร้อมกับไม่ได้ระบุช่วงเวลาที่จะตัดสินใจในเรื่องนี้ใดๆ
เขียนโดย น.ส.ศิวะพร จันทร์ตรี ID : 5131601599
สุรินทร์ เผยอาเซียนห่วงการเมืองไทย [29 ส.ค. 51 - 04:52]
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เปิดเผยระหว่างเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (เออีเอ็ม) ครั้งที่ 40 ที่ประเทศสิงคโปร์ ว่า อาเซียนกำลังเฝ้ามองปัญหาการเมืองของไทยด้วยความห่วงใย หลังกลุ่มพันธมิตรฯบุกยึดทำเนียบรัฐบาล เพราะเกรงจะกระทบต่อการทำหน้าที่ประธานอาเซียนของไทย และการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม สุดยอดผู้นำอาเซียนในปลายปีนี้ ที่จะมีการลงนามข้อตกลงหลายฉบับเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ดังนั้น เหตุการณ์ภายในประเทศจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศสมาชิก และคาดหวังว่าการเมืองไทยจะกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็ว ไทยต้องเร่งแก้ไขปัญหาการเมืองภายในให้ยุติภายใน 1 ปีครึ่งนับจากนี้ ไม่เช่นนั้นอาจสูญเสียโอกาสในการแสดงศักยภาพให้ทั่วโลกได้รับรู้ และสร้างความผิดหวังให้กับสมาชิกอาเซียนที่มีความเชื่อมั่นในฐานะที่ไทยเป็นผู้ริเริ่มให้เกิดอาเซียน โดยเฉพาะในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ซึ่งไทยจะมีโอกาสเล่นบทบาทบนหน้าจอทีวีโลก ที่จะส่งผลต่ออำนาจต่อรองได้

สื่อต่างชาติวิเคราะห์รัฐบาลอยู่รอด
ด้านสำนักข่าวต่างประเทศยักษ์ใหญ่ทั้งเอพี เอเอฟพี และรอยเตอร์ ต่างรายงานเกาะติดสถานการณ์เหตุวุ่นวาย ทางการเมืองของไทย โดยมีบทวิจารณ์ของนายไมเคิล มอนเตซาโน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ระบุว่า แม้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลจะเผชิญแรงเสียดทานจากการประท้วงใหญ่ของพันธมิตรฯ แต่ก็จะรอดพ้นวิกฤติตรงจุดนี้ไปได้ เพราะกลยุทธ์หลายประการที่กลุ่มพันธมิตรฯนำมาใช้ รวมถึงการบุกยึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีของรัฐ ทำให้ขาดความชอบธรรมและหาคนสนับสนุนเพิ่มเติมยากขึ้น รวมถึงการที่นายสมัคร ยืนยันไม่ใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ประท้วง โดยให้เป็นหน้าที่ของศาลตัดสินแก้ปัญหาแทน

บีบีซีชี้สถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง
ส่วนนายโจนาธาน เฮด จากสำนักข่าวบีบีซี ระบุว่า นับจากผ่านพ้นการปฏิวัติมาเกือบ 2 ปี ดูเหมือนประชาธิปไตยของไทยจะไม่ก้าวหน้าไปไหนไกล เหตุวุ่นวายทางการเมืองปัจจุบันเป็นผลมาจากยุคอดีตนายกฯทักษิณที่แม้จะพ้นอำนาจและระบุจะไม่ยุ่งเกี่ยวการเมืองแล้ว แต่จากท่าทีรัฐบาลปัจจุบันและของนายสมัครหลายอย่างที่ดูเหมือนจะเข้าฝ่ายอดีตนายกฯทักษิณ รวมทั้งการตั้งท่าแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราที่เป็นปัญหา ยิ่งเติมเชื้อไฟให้ฝ่ายต่อต้านเดินหน้าประท้วงแบบกัดไม่ปล่อย แม้เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญจะถูกพักไว้แล้ว แต่สถานการณ์ในไทยยังคงน่าห่วง เพราะกลุ่มพันธมิตรฯได้รับการสนับสนุนจากคนหลายกลุ่ม ฉะนั้น การแตกร้าวที่เกิดมาตั้งแต่ยุคอดีตนายกฯทักษิณ จึงยังไม่ยุติลงง่ายๆ ขณะที่นายซง เซ็ง วูน นักเศรษฐศาสตร์ระดับภูมิภาคของ CIMB-GK ธนาคารเพื่อการลงทุนในสิงคโปร์ ระบุว่า เหตุวุ่นวายภายในของไทยเกิดในจังหวะที่นักลงทุนโดนผลกระทบจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกอยู่แล้ว ตราบใดที่ไม่เกิดความรุนแรงบนถนน นักลงทุนก็จะไม่หอบเงินหนีจากไทยแน่นอน
น.ส.ศิวะพร จันทร์ตรี ID : 5131601599
การชุมนุมพันธมิตรภายในทำเนียบฯ เริ่มตึงเครียด [29 ส.ค. 51 - 11:00]
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศภายในทำเนียบรัฐบาล เริ่มมีความตึงเครียด หลังมีการปิดประกาศหมายบังคับคดีให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทราบ ล่าสุด พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หนึ่งในแกนนำฯ ขึ้นเวทีปราศรัย ระดมผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ให้มานั่งรวมกันหน้าเวทีให้เต็มพื้นที่สนามหญ้า โดยมีการป่าวประกาศว่า ตำรวจกำลังเดินทางเข้ามา พร้อมปลุกระดมให้ประชาชนเข้ามาในทำเนียบฯ ขณะที่แกนนำฯ คนอื่นๆ ก็ได้มานั่งท่ามกลางผู้ชุมนุมแล้ว
ขณะที่ตำรวจปราบจราจลบุกเข้าประตู 5 ทำเนียบฯ หวังเคลียร์พื้นที่ครึ่งทำเนียบฯ ตั้งแต่ที่ประชุม ครม. สำนักเลขาธิการ ครม. จนถึง ประตู 5 ทั้งนี้มีการปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมเล็กน้อย พร้อมประกาศยังไม่มีการปะทะ
เขียนโดย น.ส.ศิวะพร จันทร์ตรี ID : 5131601599

ติดประกาศพร้อมกัน 5 จุด ขู่โทษอาญาฉีกหมายศาล [29 ส.ค. 51 - 10:24]
ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าหลังการหารือระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับตำรวจ นายศุภชัย ใจสมุทร ทนายความของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เจ้าหน้าที่จะนำคำสั่งศาลไปติดประกาศให้แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบรัฐบาล และรื้อถอนสิ่งกีดขวางบริเวณถนนราชดำเนิน โดยจะนำหมายศาลไปติด 5 จุด คือ สะพานชมัยมรุเชฐ สะพานมัฆวาน แยกสวนมิสกวัน แยกลานพระบรมรูปทรงม้า สะพานอรทัย ทุกจุดเจ้าหน้าที่จะมาพร้อมกำลังตำรวจ 150 นาย เพื่อป้องกันการขัดขวางของพันธมิตรฯ ก่อนติดประกาสจะอ่านประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบ พร้อมยืนยันดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย หากมีการทำลาย หรือฉีกประกาศ ถือว่ามีความผิดทางอาญา ฐานขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มีรายงานว่า พ.ต.อ.พิชิตชัย ศรียานนท์ รองผู้บังคับการตำรวจสันติบาล 3 พร้อมตำรวจสันติบาลเกือบ 10 นาย เดินทางไปยังประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเก็บอาวุธของกลางที่อยู่บริเวณชั้น 2 ของกองรักษาการของตำรวจภายในทำเนียบรัฐบาล
พ.ต.อ.พิชิตชัย กล่าวว่า อาวุธดังกล่าวจำเป็นต้องมีอยู่ภายในทำเนียบฯ อยู่แล้ว เพื่อเตรียมรักษาความปลอดภัย แต่ขณะนี้ต้องนำไปเก็บ โดยเฉพาะอาวุธที่คาดว่าจะเป็นอันตราย เพราะอาจมีผู้ไม่หวังดีนำไปก่อความวุ่นวาย ขณะที่ระหว่างการขนอาวุธ มีกลุ่มพันธมิตรฯมาดูแลตลอดเวลา
เขียนโดย น.ส.ศิวะพร จันทร์ตรี ID : 5131601599