วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy: PAD) เกิดจากการรวมตัวกันของหลายองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์กรอิสระภาคประชาชน จุดประสงค์หลักของการรวมตัวเพื่อกดดันขับไล่ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเห็นว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจส่วนตัวและคนสนิทและประพฤติผิดอีกหลาย ๆ อย่างอันไม่สมควรในการเป็นผู้บริหารประเทศ โดยประสานงานโดยสุริยะใส กตะศิลา และมีแกนนำ 5 คน ได้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, สมศักดิ์ โกศัยสุข, พิภพ ธงไชย, สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์

เนื้อหา[ซ่อน]
1 ก่อนและหลังการปฏิรูปโดย คปค.
2 การกลับมาเคลื่อนไหวของพันธมิตรภายใต้รัฐบาลสมัคร
3 สัญลักษณ์ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
4 โครงสร้างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
4.1 ภาคเหนือ
4.2 ภาคตะวันออก
4.3 ภาคอีสาน
4.4 ภาคใต้
4.5 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
4.6 เครือข่ายสันติอโศก
4.7 เครือข่าย NGO
4.8 กลุ่มนักวิชาการ
4.9 คณะกรรมการพลังแผ่นดิน
5 อ้างอิง
6 ดูเพิ่ม
7 แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนและหลังการปฏิรูปโดย คปค.
ดูบทความหลักที่ การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายสนธิ ลิ้มทองกุล และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ให้สัมภาษณ์ข่าวเกี่ยวกับทฤษฎี "แผนฟินแลนด์" และกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้สมคบคิดกับอดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี ยึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทย และก่อตั้งรัฐคอมมิวนิสต์ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอดีตผู้นำและผู้ร่วมพคท. ได้ปฏิเสธว่า แผนสมคบคิดนี้ไม่ได้มีอยู่จริง แต่มีประชาชนบางส่วนปักใจเชื่อว่าเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นจริงและกำลังถูกดำเนินการอยู่ ซึ่งเป็นสาเหตุให้คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ภายหลังรัฐประหารสำเร็จได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ก่อการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย[1][2][3]
หลังจากเกิดการปฏิรูปโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทางกลุ่มพันธมิตรฯซึ่งแผนการเดิม จะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เพื่อขับไล่รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตำแหน่ง ก็ได้ยุติการชุมนุมไป แล้วทิศทางในปัจจุบันนี้คือ ทางแกนนำกลุ่มพันธมิตรทั้ง 5 คน ก็ได้ตัดสินใจแยกทางกันตามปกติ ยุติการเคลื่อนไหวแล้ว แต่ก็ยังมีการจับตาทางฝ่ายของอดีตนายกรัฐมนตรีอยู่ เพื่อไม่ให้อดีตนายกรัฐมนตรีรวมทั้งคณะรัฐมนตรีในพรรคไทยรักไทย ที่ได้จัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งปลายปี พ.ศ. 2550 แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมหรือแทรกแซงระบบราชการ
การกลับมาเคลื่อนไหวของพันธมิตรภายใต้รัฐบาลสมัคร
ดูบทความหลักที่
การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551

กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ชุมนุมใหญ่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีประชาชนมาร่วมฟังการปราศรัยนับหมื่นคน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2551

วิกิซอร์ซ มีข้อมูลต้นฉบับเกี่ยวกับ:แถลงการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลผสมของนายสมัคร สุนทรเวช โดยมีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำ และ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับมายังประเทศไทย พร้อมกับมีคำสั่งโยกย้าย อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (ปชส.) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.สตช.) อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งอาจเป็นการแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรม [4]
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จัดสัมมนาทางวิชาการโดยนักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลที่สนใจในการเมืองที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 [5]และจัดชุมนุมอีกครั้งในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551
ในวันอาทิตย์ที่
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ได้จัดรวมตัวชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 รวมทั้งมีการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อถอดถอน ส.ส. ส.ว. ที่เข้าชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในเวลาค่ำได้เคลื่อนขบวนไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสกัดกั้นไว้ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ จึงได้ปักหลักปิดถนนราชดำเนินนอก ตั้งแต่บริเวณหน้าสำนักงานสหประชาชาติ จนถึงแยก จ.ป.ร. บริเวณหน้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อย่างต่อเนื่อง
การชุมนุมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง พร่อมกับการเข้าร่วมของสมาพันธ์แรงงาน
รัฐวิสาหกิจ [6][7] และในวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551 จึงได้เคลื่อนขบวนไปปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล และชุมนุมต่อบนถนนพิษณุโลก [8]
26 สิงหาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้บุกรุกเข้าไปในสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ "เพื่อทวงสมบัติชาติคืนจากรัฐบาล เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลใช้สถานีโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการโจมตีกลุ่มพันธมิตรฯ อย่างต่อเนื่อง"[9] แต่การเข้าบุกรุกครั้งนี้ได้รับการประณามจากสมาคมนักข่าวและหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ว่า "ถือว่าเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนอย่างรุนแรงและอุกอาจที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะมีการคุกคาม ข่มขู่และขัดขวางการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน"[10] และยังถูกประณามจากสมาคมผู้สื่อข่าวแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ผู้สื่อข่าวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่า "การกระทำของผู้ชุมนุมในนามกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุด และโจมตีเสรีภาพของสื่ออย่างโจ่งแจ่งที่สุด ขณะนี้สื่อมวลชนถูกคุกคาม ข่มขู่ และไม่ได้ทำหน้า ที่ของตนเอง และการบุก NBT ครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้"[11]
สัญลักษณ์ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
กลุ่มผู้เข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะใส่เสื้อสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ และคาดผ้าโพกศีรษะที่มีข้อความว่า "กู้ชาติ" และผ้าพันคอสีฟ้า
[12]ซึ่งเป็นผ้าพันคอพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2549 [13]
โครงสร้างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ภาคเหนือ
กลุ่มพันธมิตรพิษณุโลก มีนายภูริทัต สุธาธรรม เป็นแกนนำ
[14]
ชุมนุมลุ่มน้ำภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยประชาชนจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง อาทิเช่น ตาก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ฯลฯ
[15]

ภาคตะวันออก
กลุ่มพันธมิตรภาคตะวันออก มีนายสุทธิ อัชฌาศัย เป็นประธานเครือข่าย ประกอบด้วยประชาชนจากอำเภอต่างๆ ในเขตจังหวัดชลบุรี อาทิเช่น อ.เมือง อ.พนัสนิคม อ.ศรีราชา อ.บ้านบึง อ.สัตหีบ อ.บางละมุง อ.บ่อทอง อ.หนองใหญ่ อ.พานทอง อ.เกาะสีชัง รวมถึงประชาชนจากจังหวัด ระยอง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ตราด
[16]
กลุ่มพันธมิตรฯ พัทยา-นาเกลือ-บ้านบึง-พนัส มีนายยงยุทธ เมธาสมภพ เป็นประธานเครือข่าย
[17]
คณะทำงานพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยจังหวัดเลย มี นายหินชนวน อโศกตระกูล เป็นแกนนำ
[18]

ภาคอีสาน
สมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทยจังหวัดขอนแก่น มีนางเครือมาศ นพรัตน์ เป็นประธานสมัชชาประชาชนฯ และนายเธียรชัย นนยะโส เป็นรองประธานฯ
[19]
สมัชชาประชาชนภาคอีสานจังหวัดบุรีรัมย์ มีนางสำเนียง สุภัณพจน์ เป็นประธาน มีแนวร่วมเป็นองค์กรเครือข่าย 18 องค์กร
[20]

ภาคใต้
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยสตูล มี นางอุดมศรี จันทร์รัศมี
[21]และ อ.ประโมทย์ สังหาร[22] เป็นแกนนำ
สมัชชาภาคใต้ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (กำลังก่อตั้ง)
[23]

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ประกอบด้วยกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจจำนวน 43 แห่ง กลุ่มหลักอยู่ที่ สหภาพ รสก. การไฟฟ้า, สหภาพ รสก. การรถไฟ
[24]
แกนนำ
ศิริชัย ไม้งาม[25]

เครือข่ายสันติอโศก
เครือข่ายสันติอโศก มีพุทธสถานสันติอโศกและสาขาอีก 8 สาขา ดังต่อไปนี้
[26]
พุทธสถานสันติอโศก ตั้งอยู่ถนนสุขาภิบาล 1 เขตบึงกุ่ม กรุงเทพ
พุทธสถานปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม
พุทธสถานศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ
พุทธสถานศาลีอโศก จังหวัดนครสวรรค์
พุทธสถานสีมาอโศก จังหวัดนครราชสีมา
พุทธสถานราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี
พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ จังหวัดเชียงใหม่
พุทธสถานทักษิณอโศก จังหวัดตรัง
พุทธสถานหินผา

เครือข่าย NGO
NGO ภาคใต้ มีแกนนำโดย
บรรจง นะแส
NGO ภาคเหนือ มีแกนนำโดย
สุริยันต์ ทองหนูเอียด

กลุ่มนักวิชาการ
กลุ่มรัฐศาสตร์จุฬาฯ
กลุ่มนักวิชาการที่ใกล้ชิดกับเครือข่ายผู้จัดการ

คณะกรรมการพลังแผ่นดิน
เป็นคณะทำงานที่ทางพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้จัดตั้งขึ้น โดนเป็นคณะทำงานที่ประสานงานในภาคราชการส่วนต่าง ๆ มีสมาชิกเป็นข้าราชการระดับสูงทั้งที่เกษียณแล้วและยังมิได้เกษียณ โดยแบ่งออกตามประเภทของข้าราชการ ดังนี้
กองทัพบกพล.อ.
ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ เป็นประธานและเป็นประธานคณะกรรมการพลังแผ่นดิน
กองทัพเรือพล.ร.ท.
อรุณ เสริมสำราญ เป็นประธาน
กองทัพอากาศพล.อ.อ.
เทอดศักดิ์ สัจจารักษ์ เป็นประธาน
กองบัญชาการตำรวจแห่งชาติพล.ต.ท.
สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ เป็นประธาน
ข้าราชการพลเรือนนาย
กษิต ภิรมย์ เป็นประธาน[27]

เขียนโดย น.ส.ศิวะพร จันทร์ตรี ID : 5131601599

ไม่มีความคิดเห็น: